ประวัติตะเกียงโรมันที่พงตึก

Roman-lamp

พงตึก คือ ชื่อชุมชนโบราณที่น่าเข้าไปศึกษา เพราะมีความแตกต่างกับเมืองโบราณในยุคทวารวดีอื่นๆ เนื่องจากเมืองโบราณในยุคเดียวกันจะมีคูดินล้อมรอบ หากแต่ที่นี่ไม่มี โดยตั้งอยู่บนฝั่งขวาของริมแม่น้ำแม่กลอง แม่น้ำแห่งสำคัญของจังหวัดกาญจนบุรี โดย ‘พงตึก’ ได้รับการยกย่องทางด้านวรรณกรรมมาตั้งแต่ยุคสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น

การค้นพบตะเกียงโรมัน ณ ‘พงตึก’

การขุดค้นพบข้าวของทางโบราณคดี ณ สถานที่แห่งนี้ มีจุดเริ่มต้นมาจากการลงข่าว ในหนังสือพิมพ์ชื่อดังแห่งหนึ่ง ฉบับ พ.ศ.2470 เนื้อหาข่าวดังกล่าวมีใจความว่า “ชาวนาในจังหวัดราชบุรี” โดยแรกเริ่มเดิมพงตึกนี้ขึ้นอยู่กับจังหวัดราชบุรี มีการขุดค้นพบโครงกระดูกมนุษย์ขนาดใหญ่ ฝังรวมกันอยู่กับพระพุทธรูปเงินและทองซึ่งเป็นของโบราณที่มีค่า ต่อมาเมื่อประชาชนอ่านข่าว จึงเดินทางไปขุดสมบัติอื่นๆกันอย่างคับคั่ง ด้วยความโกลาหลในครั้งนี้ ทำให้โบราณวัตถุต่างๆ มากมาย ตลอดจนโครงกระดูกก็ถูกรบกวนจนไม่เหลือเค้าสภาพเดิม

ต่อมาสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพจึง สั่งให้ ‘ศ.ยอร์ช เซเดส์’ ไปสำรวจโดยผลลัพธ์จากการไปสำรวจในครั้งนี้ ทำให้ท่านได้พบวัตถุโบราณหลายประเภท น่าตื่นตาตื่นใจไปหมด เช่น พระพุทธรูปสัมฤทธิ์โบราณ , ถ้วยดินเผา และที่เด็ดที่สุด คือ ตะเกียงโรมันสำริด ท่าน ‘ศ.ยอร์ช เซเดส์’ ก็ได้นำตะเกียงนี้กลับมายังกรุงเทพด้วย

ข้อมูลของตะเกียงโรมันโบราณ ที่หลายๆคนให้ความสนใจ

ตะเกียงโบราณชิ้นนี้ สร้างขึ้นมายุค – กรีก-โรมัน หล่อด้วยสำริดแท้ทั้งชิ้น จากลักษณะภายนอก มีขนาดยาว 30.5 เซนติเมตร, สูง 27 เซนติเมตร และ ปากกว้าง 5.1 เซนติเมตร ปลายด้านหนึ่งใช้สำหรับจุดไส้เพื่อสร้างเปลวไฟ ด้านบนมีฝาปิดสำหรับใส่น้ำมัน บริเวณฝาหล่อเป็นรูปของเทพเจ้ากรีกนาม ‘Silenus’ ด้ามจับเป็นรูปใบปาล์มซึ่งเป็นลายยอดฮิตใน ยุค – กรีก-โรมัน และประกอบด้วยปลาโลมาอีก 2 ตัว ซึ่งเป็นตัวแทนของเมืองติดทะเล

ตะเกียงสำริดชิ้นนี้ พบ ณ พงตึก จังหวัดกาญจนบุรี เป็นตะเกียงเก่าแก่ ที่น่าศึกษาเป็นอย่างยิ่ง ทั้งนี้การค้นพบของโบราณมี มีความเกี่ยวพันธ์กับการค้นพบเหรียญโรมัน จังหวัดสุพรรณบุรี  โดยเป็นหลักฐานชั้นดี ว่าชุมชนโบราณ โดยเฉพาะทางภาคตะวันตกของประเทศไทย มีการติดต่อ-ค้าขายพร้อมสร้างสัมพันธ์ กับชาวตะวันตกและมีความคึกคักเป็นอย่างยิ่ง สำหรับกลุ่มประเทศนั้น ได้แก่ กรีก-โรมันและเปอร์เซีย จากการคาดการณ์ของนักโบราณคดี พบว่านี่อาจเป็นการติดต่อโดยตรงระหว่าชาวบ้านของไทย กับพ่อค้าโรมันที่เดินทางข้ามน้ำ ข้ามทะเลเข้ามาตั้งรกราก บริเวณบ้านเมืองท่าชายฝั่งของอินเดีย อีกทั้งยังมีการติดต่อผ่านพ่อค้าชาวอินเดียจำนวนมากอีกด้วย ซึ่งนับเป็นอีกหนึ่งการค้นพบอันน่าตื่นเต้น